ทำความรู้จัก BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของไทย

Fintech (Thailand) > Fintech blog  > ทำความรู้จัก BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของไทย

ทำความรู้จัก BAM บริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของไทย

ผู้นำธุรกิจบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในไทยคงไม่พ้น…บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด มหาชน (BAM) ที่พึ่งเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

จากบทวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมา ภาพรวมอุทานมีการปรับตัวลดลง ด้วยปัจจัยทางลบที่ส่งผลลบต่อภาวะเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตลดลง ผู้ประกอบการจึงชะลอพัฒนาโครงการมากขึ้น

การประมาณการว่าในปี 2563 เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0% จากปัจจัยลบที่อาจไม่ร้ายแรงเท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 โดยวิกฤตนี้เป็นตัวก่อกำเนิดธุรกิจบริการสินทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจเดียวที่รับมือได้

BAM ดำเนินธุรกิจอะไรบ้าง?

  1. ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPLs) ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินในไทย และเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ ซึ่งมีสินทรัพย์อยู่ที่ 88,195 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 ก.ย.62)
  2. ธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) ช่วยฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินเปล่า โรงแรม อาคารเพื่อการพาณิชย์ และพัฒนาศักยภาพให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยสินทรัพย์อยู่ที่ 30,546 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 ก.ย.62)

จัดสรรสัดส่วนหุ้นให้ใครบ้าง?

BAM นำหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 280 ล้านหุ้น และหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่จำนวน 1,255 ล้านหุ้น เสนอขายนักลงทุนทั่วไป ในราคาหุ้นละ 17.50 บาท โดยมีสัดส่วนเสนอขายหุ้นเป็นดังนี้

ประเภทผู้ลงทุน จำนวนหุ้นที่เสนอขาย

สัดส่วนที่เสนอขาย

บุคคลทั่วไป

414,500,000 หุ้น

27%

ผู้ลงทุนสถาบัน

1,120,500,000 หุ้น

73%

BAM ผลประกอบการแข็งแกร่ง

ผลการดำเนินงานปี 2559 – ก.ย. 2562 มีรายได้โตเฉลี่ยปีละ 5.5% และกำไรเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% โดย ก.ย. 2562 มีรายได้และกำไรสุทธิ โตกระโดด ด้วยการเก็บรายได้จากลูกหนี้รายใหญ่ ถือว่าเป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตที่มั่นคงเลยทีเดียว

ปี

รายได้

กำไรสุทธิ

อัตรากำไรสุทธิ

2559

8,763 4,903

55.96%

2560 7,626 4,500

59.02%

2561

9,751 5,202 53.35%
9M62 9,206 4,882

53.03%

โครงการ BAM ทำอะไรบ้าง?

  1. โครงการ BAM ช่วยฟื้นธุรกิจ SME ลดภาระการผ่อน เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อได้
  2. ปลดหนี้เกษตร ให้สามารถชำระหนี้ในอัตรา 80% ของราคาประเมินหลักประกัน
  3. โครงการคอนโดใจสบายกระเป๋า เป็นโปรแกรมผ่อนชำระสำหรับลูกค้ารายได้น้อบงบจำกัด ผ่อนชำระต่องวดเริ่มต้น 1,000-4,000 บาท

เงินจากการระดมทุน BAM เอาไปทำอะไรบ้าง?

  1. ซื้อสินทรัพย์ NPLs และ NPAs ในอนาคต เป็นจำนวน 394 – 449 ล้านบาท ภายในปี 2563
  2. นำเงินไปใช้ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน ชำระหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดออกโดยบริษัทฯ ตั๋วเงินจ่ายเพื่อการซื้อ NPLs และ NPAs เป็นจำนวนเงิน 3,546 – 4,040 ล้านบาท ภายในปี 2563
  3. นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนเงิน 3,503 – 3,955 ล้านบาท

กรณี หากมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Greenshoe) จำนวน 230 ล้านหุ้น โดยจะเข้ามาซื้อหากราคาหุ้นลงมาที่ระดับ 17.50 บาท *Greenshoe เป็นเครื่องมือในการปั่นราคาหุ้น เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน*

BAM ปันผลไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ

นโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ และปัจจุบันนี้ราคา BAM ตกลงมาเล็กน้อยที่ 17.40 บาท ณ วันที่ 17 พ.ย. 2562

Cr. MRG online, eFinanceThai, SET

.

.

Follow us on

Facebook: Fintech Thailand

Instagram: fintechthailand