5 บริษัทประสบความสำเร็จได้ด้วยการหาเงินทุนเอง

Fintech (Thailand) > Fintech blog  > 5 บริษัทประสบความสำเร็จได้ด้วยการหาเงินทุนเอง

5 บริษัทประสบความสำเร็จได้ด้วยการหาเงินทุนเอง

ในแวดวง startup เรามักจะเห็นข่าวระดมทุนกันอยู่บ่อยๆ แต่ก็มีบริษัทไม่น้อยที่เลือกจะใช้เงินทุนตัวเอง วันนี้ fintech จะมาเปิิดรายชื่อบริษัทที่เรา(อาจจะ)คุ้นเคยกันดี ซึ่งประสบความสำเร็จได้ด้วยเงินทุนตัวเองโดยไม่ผ่านการระดมทุน

5 บริษัทประสบความสำเร็จได้ด้วยการหาเงินทุนเอง

Spanx

Sara Blakely, CEO of Spanx

Startup ชุดชั้นในที่ผู้ก่อตั้งอย่าง Sara Blakely ได้ไอเดียมาจากการแต่งตัวไปงานปาร์ตี้ ซึ่งเธอไม่สามารถหาชุดชั้นในที่เข้ากันกับกางเกงสแลคสีขาวได้ เธอเลยตัดสินใจดัดแปลงชุดชั้นในที่มีอยู่ซะเลย และนั้นคือจุดเริ่มต้นของ Spanx เมื่อ Sara ตัดสินใจใช้เงินเก็บ $5,000 (~165,650 บาท) ตั้งบริษัทขึ้นที่ Atlanta และนับตั้งแต่นั้น Spanx ก็กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากว่า $400 ล้านเหรียญฯ (1.3 หมื่นล้านบาท) และไม่เคยเปิดระดมทุนจากนักลงทุนภายนอกเลย

GoPro

Nick Woodman, CEO of GoPro

หลังจากที่ FunBug ธุรกิจเว็บไซต์โปรโมชั่นพังไม่เป็นท่า Nick Woodman ก็พยายามตั้งหลักใหม่และเลือกออกเดินทางไปพักสมองที่ออสเตรเลียและอินโดนีเซียและที่นั้นเองที่เขาเกิดแรงบันดาลใจ หลังจากเห็นนักโต้คลื่นพันกล้องถ่ายภาพไว้กับข้อมือเพื่อใช้เก็บภาพขณะเซิร์ฟ Nick ก็กลับมาพร้อมไอเดีย เขาใช้เงินเก็บของตัวเองและยืมจากแม่อีก $35,000 (~1,159,550 บาท) ในการตั้งบริษัทผลิตกล้อง GoPro ขึ้นที่ San Mateo, California กระทั่งปี 2012 ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ Foxconn ก็เข้าร่วมธุรกิจและลงเงินกว่า $200 ล้านเหรียญฯ (~6,628 ล้านบาท) หลังจากนั้น 2 ปี GoPro ก็เข้าสู่ตลาดหุ้นด้วยมูลค่าธุรกิจรวมกว่า $2.96 พันล้านเหรียญฯ (~9.8 หมื่นล้านบาท)

GitHub

Tom Preston-Werner, Co-founder of GitHub

ก่อตั้งโดย Tom Preston-Werner, Chris Wanstrath และ PJ Hyett ในปี 2008, GitHub (หนึ่งในบริษัทที่ติด CNBC Disruptor 50 ในปี 2017) ก็กลายมาเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ผู้ใช้สามารถแชร์งานในโปรเจ็คของตัวเองให้กับผู้อื่นได้ จากนั้น Tom Preston-Werner ผู้ก่อตั้งก็ใช้เงินเพียงไม่กี่พันเหรียญในการตั้งบริษัทและกลายมาเป็นบริษัทที่ทำผลกำไรได้อย่างงาม “ในวันที่บริษัทเปิดอย่างเป็นทางการและเริ่มเรียกเก็บค่าสมาชิก”

 

ในตอนแรก GitHub ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีออฟฟิศ ผู้ก่อตั้งและทีมงานอีกสี่คนต้องทำงานกันคนละที่ และใช้ร้านกาแฟเป็นที่นัดประชุม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สี่ปีต่อมาบริษัทหาเงินทุนแรกได้ $100 (~3,300 บาท) จาก Andreessen Horowitz และตั้งแต่นั้น GitHub ก็หาเงินทุนได้มากกว่า $250 ล้านเหรียญฯ (~8,200 ล้านบาท) จากนักลงทุนรายย่อยอื่น ๆ การระดมทุนในปี 2015 มีมูลค่าสูงถึง $2 พันล้านเหรียญฯ (~6.6 หมื่นล้านบาท)

Tough Mudder

Will Dean, Co-founder of Tough Mudder

ในปี 2010 คือปีที่ผู้ร่วมก่อตั้ง Will Dean และ Guy Livingstone เริ่มนำบริษัทเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาวิบากที่เต็มไปด้วยความยากและการทดสอบความอึดออกสู่สาธารณชน ไอเดียที่ทั้งคู่คิดค้นขึ้นมาก็คือ การแข่งขันที่เต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง เช่น ลวดหนามและบาร์ที่ถูกทาด้วยเนย พวกเขาใช้เงิน $300 เหรียญฯ (~10,000 บาท) ไปกับในเว็บไซต์และเงินอีกประมาณ $8,000 เหรียญฯ (~265,040 บาท) (ซึ่งเป็นเงินทั้งหมดจากบัญชีธนาคารของ Dean) ในการโฆษณาบน Facebook

 

และกลยุทธ์นี้ก็ตอบแทนเงินที่เสียไป ด้วยการดึงดูดคนมากกว่า 5,000 คน เข้าร่วมการแข่งขันวิ่ง Tough Mudder ครั้งแรก และอีกกว่า 2 ล้านคนที่เข้าร่วมแข่งขันใน 10 ประเทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทซึ่งตั้งอยู่ที่ Brooklyn, New York ก็สร้างรายได้ได้มากกว่า $100 ล้านเหรียญฯ (~3,313 ล้านบาท) ผ่านทางค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนและข้อเสนอจากสปอนเซอร์ และยังไม่เคยต้องรับเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอกแต่อย่างใด

TechCrunch

Mike Arrington, Founder & former co-editor of TechCrunch

TechCrunch เป็นเว็บไซต์เทคโนโลยีซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2005 โดย Mike Arrington ผู้อำนวยการอาวุโสและ Keith Teare ต่อมา TechCrunch ก็กลายเป็นตัวอย่างของบล็อกด้านเทคโนโลยีและได้รับความไว้วางใจจากผู้คนอย่างมากในโลกไซเบอร์ โดยเป็นผลมาจากการนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพ ในปี 2010 TechCrunch ถูกขายให้กับ AOL ตามข่าวลือในราคา $30 ล้านเหรียญฯ (~994 ล้านบาท) ซึ่งในเวลานั้น Mike Arrington เป็นเจ้าของอยู่ถึง 85% ปัจจุบัน TechCrunch ยังคงดำเนินการโดยปราศจากการระดมทุนจากภายนอก

ในเส้นทางของธุรกิจ startup การระดมทุนอาจไม่ใช่เส้นทางเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เพราะบริษัทเหล่านี้ได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า ‘หากคุณมีไอเดียและเจ๋งพอ’ ธุรกิจของคุณก็ประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สูตรสำเร็จอย่างการระดมทุนจากภายนอก

 

ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิ.ย. 2560

Cr. investopedia.com, cnbc.com, blog.taskpigeon.co