กรณีศึกษา 9 แบรนด์ใหญ่ การเข้าสู่ยุคใหม่ของโลโก้ที่ไร้ชื่อแบรนด์

Fintech (Thailand) > Uncategorized  > กรณีศึกษา 9 แบรนด์ใหญ่ การเข้าสู่ยุคใหม่ของโลโก้ที่ไร้ชื่อแบรนด์

กรณีศึกษา 9 แบรนด์ใหญ่ การเข้าสู่ยุคใหม่ของโลโก้ที่ไร้ชื่อแบรนด์

กรณีศึกษาโลโก้ของแบรนด์ระดับโลก 9 แบรนด์ ที่ได้ทำการรีแบรนด์เปลี่ยนโลโก้ด้วยการตัดชื่อแบรนด์ออก ทั้งนี้ช่วยทำให้แบรนด์ทันสมัย และโดดเด่นขึ้น

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวการปรับโลโก้ครั้งใหญ่อีกครั้งของ Mastercard แม้จะเคยปรับใหญ่มาก่อนหน้านี้เมื่อปี 2016 แต่ครั้งนี้เป็นการปรับอย่างมีนัยสำคัญนั่นคือการตัดชื่อแบรนด์ออก คงเหลือไว้เพียงแต่โลโก้วงกลมซ้อนกันสีแดง สีส้ม และสีเหลืองเท่านั้น

จากกรณีของ Mastercard ที่เกิดขึ้น ชวนย้อนรอยแบรนด์ใหญ่ อีก 8 แบรนด์ ที่เคยปรับโลโก้ครั้งใหญ่ด้วยตัดชื่อแบรนด์ออกจากโลโก้เช่นกัน

Nike

เมื่อปี 1995 แบรนด์กีฬา Nike ได้ทำการลบชื่อแบรนด์ออกจากโลโก้ เหลือไว้เพียงสัญลักษณ์ Swoosh ที่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายถูก หลังจากนั้นสัญลักษณ์นี้ก็กลายเป็นตัวแทนของแบรนด์ไปเป็นที่เรียบร้อย และเป็นที่จดจำได้ดีแม้จะมีมีชื่อแบรนด์ด้วยก็ตาม

Shell

ตั้งแต่ช่วงปี 1992 จนถึง 1995 แบรนด์ Shell ได้มีการปรับปรุงโลโก้ถึง 9 ครั้ง จนในที่สุดก็ได้ตัดชื่อแบรนด์ออก เหลือเพียงสัญลักษณ์รูปเปลือกหอยสีแดง และสีเหลืองเท่านั้น

McDonald’s

แบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่าง McDonald’s ได้มีการปรับโลโก้อยู่หลายครั้งเช่นกัน ทั้งปรับชื่อแบรนด์ รวมถึงสโลแกนของแบรนด์ด้วย โดยมีการใส่สโลแกน ‘I’m lovin’ it’ ไว้ใต้โลโก้ตั้งแต่ปี 2003-2006 จนในปี 2006 ได้มีการปรับเอาข้อความออกให้หมด เหลือเพียงแต่สัญลักษณ์ Golden Arches ไว้

Target

ห้างค้าปลีก Target มีโลโก้ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับเป้ายิงปืน ซึ่ง Target ได้ตัดชื่อแบรนด์ทิ้งออกในปี 2006 ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยกับโลโก้นี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

KFC

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าชื่อเต็มๆ ของ KFC ก็คือ ของ Kentucky Fried Chicken โดยได้เริ่มย่อชื่อตั้งแต่ปี 1991 และโลโก้ใหม่ที่สุดของ KFC ได้ทำการปรับครั้งล่าสุดเมื่อปี 2006 เป็นความพยายามที่สร้างแบรนด์ด้วยผู้พัน Colonel Sanders จึงไม่แปลกใจที่ในช่วงปีหลังๆ ภาพของผู้พันจะเด่นขึ้นมา และมีแคมเปญของผู้พันเยอะมากขึ้น ส่วนชื่อแบรนด์แม่จะมีตัดออก แต่ก็ย่อให้เด่นน้อยกว่าผู้พัน

Starbucks

ร้านกาแฟเงือกเขียวได้ทำการตัดชื่อแบรนด์ Starbucks พร้อมกับคำว่า Coffee ออกจากโลโก้เมื่อปี 2011 การปรับครั้งนี้ถือเป็นการวิวัฒนาการของโลโก้ครั้งสำคัญของแบรนด์ เป็นกลยุทธ์ที่สะท้อนผ่านโลโก้

Twitter

แบรนด์โซเชียลมีเดีย Twitter ได้ปรับโลโก้ด้วยการใช้นกสีฟ้าเป็นตัวแทนของแบรนด์ ได้ตัดชื่อแบรนด์ออกจากโลโก้เมื่อปี 2012 ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อความ หรือตัว t ตัวเล็กเป็นตัวแทน Twitter อีกต่อไป ใช้เพียงแค่นกสีฟ้า

Tinder

แอพหาคู่ชื่อดังอย่าง Tinder ได้ใช้สัญลักษณ์เปลวไฟแทนโลโก้ ได้ทำการเปลี่ยนเมื่อปี 2017 จากที่แต่เดิมเปลวไฟจะอยู่ข้างบนตัว i โลโก้ใหม่นี้ได้ทำการออกแบบโดย DesignStudio

จะเห็นได้ว่าโลโก้มีความสัมพันธ์กับการสร้างแบรนด์อย่างมาก หลายแบรนด์เลือกที่จะตัดชื่อแบรนด์ออกเพื่อส่งผลในการสร้างแบรนด์ในระยะยาว เพราะเรื่องการจดจำแบรนด์ก็เป็นเรื่องสำคัญ

แต่ก่อนที่จะทำการปรับโลโก้ แบรนด์ควรที่จะทำผลสำรวจกับผู้บริโภคเสียก่อนว่าสามารถจดจำโลโก้ได้หรือไม่ มิเช่นนั้นจะส่งผลเสียในระยะยาวอย่างแน่นอน

www.brandinside.asia