A Template For Understanding Big Debt Crises By Ray Dalio : ผ่า 7 ประเด็น…สาเหตุฟองสบู่

Fintech (Thailand) > Fintech blog  > A Template For Understanding Big Debt Crises By Ray Dalio : ผ่า 7 ประเด็น…สาเหตุฟองสบู่

A Template For Understanding Big Debt Crises By Ray Dalio : ผ่า 7 ประเด็น…สาเหตุฟองสบู่

หนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฏจักรเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังจากสถานการณ์ที่ผ่านมาในหลายๆ ประเทศ เริ่มอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะๆ โครงการชิม ช็อป ใช้ เฟส 1-3 ก่อให้เกิดการกู้เงินมาลงทุนและการจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อมากขึ้น จึงมีเงินหมุนเวียนบนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและขยายตัวสูงขึ้น แต่เงินที่กู้ยืมมาลงทุนธุรกิจต่างๆ ไม่ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพพอที่จะคืน Return ให้กับ Debt ที่สร้างขึ้นได้ ดังนั้นการสะสม Debt ในระยะ Short Term ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงตามมาด้วยการเกิด Big Debt Crises ได้

และเรย์ ดาลิโอ ได้เขียนถึง สาเหตุการเกิด Debt Crises ผ่านทั้ง 7 ประเด็นด้วยกัน

  1. มูลค่าสินทรัพย์เทียบกับอดีต

จากการเปรียบเทียบ Shiller PE Ration ของ S&P 500 ซึ่งเป็นการใช้ Price หารด้วย EPS เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี เพื่อวัดผลให้ครอบคลุมวัฎจักรเศรษฐกิจได้ครบรอบทั้งขาขึ้นและขาลง เมื่อดูจากกราฟพบว่าค่า Shiller PE อยู่ที่ 29.66 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 16.57 ปรากฎว่า ค่าในปัจจุบันมีมากกว่าเฉลี่ยถึง 2 เท่า โดยระดับนี้เป็นระดับเดียวก่อนเกิด Great Depression สูงกว่า Hamburger Crisis และ Black Monday ส่วนช่วงฟองสบู่ Dot-com มีค่าสูงกว่าในปัจจุบัน

  1. ความคาดหวังกำไรต่อหุ้นในอนาคต

จากกราฟเมื่อเทียบกันระหว่าง S&P 500 Change in forward 12 Months P/E Ratio และ S&P 500 P/E Ratio จะเห็นว่าการทำนายกำไรต่อหุ้นโดยรวม 1 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 170 เหรียญฯ/หุ้น และกำไรต่อหุ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 135.60 เหรียญฯ/หุ้น โดยต่ำกว่าค่าคาดการณ์ถึง 25%

จากกราฟจะเห็นว่าก่อนเกิดวิกฤตดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะมีสูง โดยดูจากเส้นกราฟก่อนบริเวณแรงเงาสีเทาซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤต พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่าจะเกิดวิกฤต และหลังจากการเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะลดลงอย่างรวดเร็ว หากดูปีล่าสุด Sep 2019 จะเห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในจุดที่สูงรองจากช่วงปี 1994-2000 วิกฤตฟองสบู่ Dot-com (The dot-com bubble) ภาวะการใช้จ่ายที่สูงเกินจึงบ่งบอกภาวะฟองสบู่

ดัชนี Fear & Greed ปัจจุบัน 18 Nov 2019 ภาวะอารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุนในตลาดมีแนวโน้มเป็นบวก เห็นว่าตลาดเป็น Bullish Market สูงถึง 83% โดยมี 7 Indicators ที่ส่งผลดังนี้ Stock Price Momentum, Stock Price Strength, Stock Price Breadth, Put and Call Options, Junk Bond Demand และ Safe Haven Demand

  1. ปริมาณหนี้สินของคนในประเทศ

จากกราฟปริมาณหนี้สินของคนในประเทศ มีการลงทุนและใช้จ่ายด้วยเงินกู้สูง

เมื่อเทียบ Debit Balances YoY ช่วง JUL 2010 – JUL 2019 มีปริมาณการกู้เงินลงทุนสูง การลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่างๆ ทั้งหุ้น  บ้าน ธุรกิจ ก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดการเกิดภาวะฟองสบู่

  1. ลูกหนี้การค้า

ลูกหนี้การค้ามีปริมาณที่สูงขึ้นกว่า Subprime Crisis ช่วงปี 2008-2009 มากถึง 25%

  1. ผู้เล่นใหม่

ชาวอเมริกา Millennials เริ่มมีแนวโน้มการลงทุนลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบปี 2001-2002 ชาวมิลเลนเนี่ยลมีสัดส่วนการลงทุนสูงถึง 55 % และลดลงมาในปี 2017-2018 เหลือเพียง 37%

นักลงทุนที่มีรายได้ระดับ Middle Class ลดการลงทุนช่วงปี 2001 – 2007 ในตลาดหุ้นจาก 62% เหลือเพียง 41% ในปี 2008-2018 เป็น %Change -21% พบว่าชาวมิลเลนเนี่ยลกลัวความเสี่ยงต่อการลงทุนในหุ้น แล้วเริ่มหันไปลงทุนในอสังหาฯ แทน

จากกราฟพบว่าตั้งแต่ปี 2012 คนเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นสัดส่วน 30.35% และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งปี 2018 ที่เกือบสูงขึ้นแตะ 50% ส่งผลให้ราคาอสังหาฯ พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

จากกราฟพบว่านโยบายการเงินของสหรัฐฯ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

นโยบายทางการเงินนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้าหากธนาคารกลางปล่อยกู้แบบเข้มงวด โดยเงินที่ปล่อยกู้ไปนั้นต้องได้คืน 100% อาจจะเกิดการพัฒนาเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยกู้อย่างหละหลวม สามารถทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตกว่าการปล่อยกู้แบบเข้มงวดก็จริง แต่ต้องยอมรับการเผชิญกับภาวะหนี้ที่ร้ายแรงได้

ดังนั้น ตัวชี้วัดทั้ง 7 ข้อของเรย์ ดาลิโอ ที่แนะนำให้เพื่อนๆ เตรียมตัวรับมือกับภาวะเศรษฐกิจ ความเสี่ยงสินทรัพย์ต่างๆ ดูแลพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นการตั้งรับที่ดีที่สุดนะครับ

จากกราฟพบว่ารัฐบาลมีการใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้นการใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดวะ Inflation และเมื่อภาวะวิกฤตนี้สูงขึ้นอีกจะทำให้กลายเป็นภาวะ Hyper Inflation ส่วนประเทศที่ก่อหนี้สูงจะทำให้การแก้ปัญหาเรื่องหนี้แก้ไขได้ยาก

Cr. Medium, Alpaca Investments,  Invest with Sven Carlin Ph.D Via @Youtube

.

.

Follow us on

Facebook: Fintech Thailand

Instagram: fintechthailand